khaothia
สาเหตุแท้จริง ที่บ้านเพิ่งสร้าง 3 เดือน พังถล่มทั้งหลัง คดีพลิก
04:35จากกรณีที่ผู้ใช้เฟซบุ๊กรายหนึ่ง โพสต์สภาพบ้านหลังเพิ่งทำได้ 3 เดือน ลักษณะเหมือนโครงสร้างถล่มลงมาทั้งหลัง โดยระบุว่า เจ้าของบ้านบอกว่า บ้านพึ่งทำได้ประมาณ 3 เดือน เวลาประมาณ 11:00 น. วันที่
16/12/67 บ้านไม่ได้ลงเสาเข็ม ทำให้บ้านยุบตัวลง กำแพงกั้นดินทรุด ที่ ม.2 ทางเข้าต้นแคร์ ต.คลองฉนวน อ.เวียงสระ จ.สุราษฎร์ธานี #ดินสไลด์ #ฝนตกหนัก #น้ำท่วม #ขอให้หน่วยงานต่างๆเข้าช่วยเหลือด้วยนะคะ
ในช่องคอมเมนต์ หลายคนได้สันนิษฐานสาเหตุที่ตัวบ้านถล่มลงมา พร้อมทั้งให้กำลังใจ อาทิ
-1.ฐานรากไม่แข็งแรง 2. ถมดินเสร้จทำบ้านเลย 3. สร้างชิดขอบดินที่ถ่มเกินไป เรียกวิศวะที่เซ็นแบบ และผรม.มาคุยต้องมีคนรับผิดชอบ
– หลักสำคัญที่สุดคือฐานรากครับ เทสดินก่อนเลย ดีสุด จะลงกี่เมตร ก็ต้องตามหลักคำนวนทางวิศวกรรม ชั้นเดียวก็ควรตอก ยกเว้นดินเขา ทำฐานแผ่รับ เพราะต่อให้ดินข้างบ้านทรุด ก็ยังมีเสาเข็มรับตัวบ้านไว้ได้ เพราะฟุตติ้งตั้งอยู่บนเสาเข็มหรือบนฐานเเผ่ เหตุการณ์แบบนี้ ควรตรวจจากการออกแบบ และการขออนุญาติก่อสร้างว่าสร้างตามแบบไหมนะครับ ส่วนเจอแบบนี้แล้ว ความเห็นผม สร้างใหม่อย่างเดียวนะครับ เป็นกำลังใจให้ครับ
-อะไรเป็นแรงบันดาลใจ ให้ไม่ลงเสาเข็ม ขนาดสร้างกำแพงยังต้องลงเสาเลย ทำผิดมาตรฐานการก่อสร้าง ผู้รับเหมาต้องการประหยัดงบหรือว่าเจ้าของบ้านอนุมัติให้ไม่ลงเสาเอง ต่อให้ดินแข็งแรงแค่ไหนการลงเสาสำหรับประเทศไทยก็ดีสุดแล้ว
-ทำบ้านอย่างสวย แต่ไม่ตอกเสาเข็มผลลัพธ์ที่ได้มาคือบ้านทรุด ต้องยอมรับในสิ่งที่เกิดเพราะความประมาทของตัวเอง เป็นกำใจให้นะคะ
เกี่ยวกับประเด็นดังกล่าว ล่าสุด เกรียงไกร ช่วยดำรงสกุล วิศวกร ผู้ที่อยู่ในวงการก่อสร้างมายาวนานกว่า 30 ปี ได้แสดงความคิดเห็นผ่านเพจ คุยกับลุงช่าง กรณีบ้านหลังนี้ที่ทรุดพังหลังเพิ่งจะสร้างได้เพียงแค่ 3 เดือน โดยระบุข้อความว่า
สาเหตุบ้านเพิ่งสร้าง 3เดือน พังถล่มทั้งหลัง ไม่ใช่อย่างที่คิด สาเหตุบ้านเพิ่งสร้าง 3เดือน พังถล่มทั้งหลัง ไม่ใช่อย่างที่คิด
ขออนุญาตเจ้าของบ้านและโพสต์ต้นทางเพื่อใช้ประกอบการอธิบายนะครับ อย่างแรก สิ่งที่ทำให้บ้านพังแบบนี้ ไม่ใช่ เรื่องใช้เข็มหรือไม่ใช้เข็ม แต่บ้านหลังนี้พังเพราะ การพังของ กำแพงกันดินด้านที่ติดคลอง กำแพงกันดินพัง ทำให้ดินทั้งก้อนเคลื่อนตัว ดูจากรูปแบบการทรุด ฉีกขาดชัดเจน ในกรณีนี้ ถามว่าถ้าตอกเสาเข็ม จะพังแบบนี้หรือไม่ คำตอบคือเสียหายแน่นอน แต่อาจจะไม่รุนแรงขนาดนี้ สรุปคือ ปัญหาเกิดจาก กำแพงกันดิน ไม่แข็งแรงพอครับ เสียใจและเสียดายแทนเจ้าของบ้าน อยากให้ทบทวนถึงปัญหาที่ แท้จริงว่า ก่อนเริ่มทำการก่อสร้าง ทั้งตัวบ้าน และกำแพงกันดิน มีแบบหรือไม่ และแบบนั้นมาจากการออกแบบคำนวณโดยวิศวกรหรือไม่ #ติดกระดุมเม็ดแรกให้ถูกต้อง
ในช่องคอมเมนต์ หลายคนได้สันนิษฐานสาเหตุที่ตัวบ้านถล่มลงมา พร้อมทั้งให้กำลังใจ อาทิ
-1.ฐานรากไม่แข็งแรง 2. ถมดินเสร้จทำบ้านเลย 3. สร้างชิดขอบดินที่ถ่มเกินไป เรียกวิศวะที่เซ็นแบบ และผรม.มาคุยต้องมีคนรับผิดชอบ
– หลักสำคัญที่สุดคือฐานรากครับ เทสดินก่อนเลย ดีสุด จะลงกี่เมตร ก็ต้องตามหลักคำนวนทางวิศวกรรม ชั้นเดียวก็ควรตอก ยกเว้นดินเขา ทำฐานแผ่รับ เพราะต่อให้ดินข้างบ้านทรุด ก็ยังมีเสาเข็มรับตัวบ้านไว้ได้ เพราะฟุตติ้งตั้งอยู่บนเสาเข็มหรือบนฐานเเผ่ เหตุการณ์แบบนี้ ควรตรวจจากการออกแบบ และการขออนุญาติก่อสร้างว่าสร้างตามแบบไหมนะครับ ส่วนเจอแบบนี้แล้ว ความเห็นผม สร้างใหม่อย่างเดียวนะครับ เป็นกำลังใจให้ครับ
-อะไรเป็นแรงบันดาลใจ ให้ไม่ลงเสาเข็ม ขนาดสร้างกำแพงยังต้องลงเสาเลย ทำผิดมาตรฐานการก่อสร้าง ผู้รับเหมาต้องการประหยัดงบหรือว่าเจ้าของบ้านอนุมัติให้ไม่ลงเสาเอง ต่อให้ดินแข็งแรงแค่ไหนการลงเสาสำหรับประเทศไทยก็ดีสุดแล้ว
-ทำบ้านอย่างสวย แต่ไม่ตอกเสาเข็มผลลัพธ์ที่ได้มาคือบ้านทรุด ต้องยอมรับในสิ่งที่เกิดเพราะความประมาทของตัวเอง เป็นกำใจให้นะคะ
เกี่ยวกับประเด็นดังกล่าว ล่าสุด เกรียงไกร ช่วยดำรงสกุล วิศวกร ผู้ที่อยู่ในวงการก่อสร้างมายาวนานกว่า 30 ปี ได้แสดงความคิดเห็นผ่านเพจ คุยกับลุงช่าง กรณีบ้านหลังนี้ที่ทรุดพังหลังเพิ่งจะสร้างได้เพียงแค่ 3 เดือน โดยระบุข้อความว่า
สาเหตุบ้านเพิ่งสร้าง 3เดือน พังถล่มทั้งหลัง ไม่ใช่อย่างที่คิด สาเหตุบ้านเพิ่งสร้าง 3เดือน พังถล่มทั้งหลัง ไม่ใช่อย่างที่คิด
ขออนุญาตเจ้าของบ้านและโพสต์ต้นทางเพื่อใช้ประกอบการอธิบายนะครับ อย่างแรก สิ่งที่ทำให้บ้านพังแบบนี้ ไม่ใช่ เรื่องใช้เข็มหรือไม่ใช้เข็ม แต่บ้านหลังนี้พังเพราะ การพังของ กำแพงกันดินด้านที่ติดคลอง กำแพงกันดินพัง ทำให้ดินทั้งก้อนเคลื่อนตัว ดูจากรูปแบบการทรุด ฉีกขาดชัดเจน ในกรณีนี้ ถามว่าถ้าตอกเสาเข็ม จะพังแบบนี้หรือไม่ คำตอบคือเสียหายแน่นอน แต่อาจจะไม่รุนแรงขนาดนี้ สรุปคือ ปัญหาเกิดจาก กำแพงกันดิน ไม่แข็งแรงพอครับ เสียใจและเสียดายแทนเจ้าของบ้าน อยากให้ทบทวนถึงปัญหาที่ แท้จริงว่า ก่อนเริ่มทำการก่อสร้าง ทั้งตัวบ้าน และกำแพงกันดิน มีแบบหรือไม่ และแบบนั้นมาจากการออกแบบคำนวณโดยวิศวกรหรือไม่ #ติดกระดุมเม็ดแรกให้ถูกต้อง
0 comments